1.0 ทดสอบสัญญาณไร้สายกับตัวรับในระยะ 300-400 เมตร

วิธีการติดตั้ง และปรับแต่งอุปกรณ์ EnGenius
ให้รองรับการทำงานที่หลากหลายความต้องการ

1.0 ทดสอบสัญญาณไร้สายกับตัวรับในระยะ 300-400 เมตร

โพสต์โดย vit_et07 เมื่อ อังคาร 21 ก.ค. 2009 6:41 pm

รูปภาพ 1.0 ทดสอบการส่ง-รับสัญญา๊ณ บนอุปกรณ์ EnGenius EOC-2610 + Tactio GP15L
บทความสำหรับ: ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายในระดับเบื้องต้นถึงปานกลาง (v1.1)
โดย วิทวัส โฉมประเสริฐ, ศุภสิทธิ์ ศิริพานิชกร


คำถาม

1.ถ้าต้องการส่งสัญญาณไร้สายภายนอกอาคารออกไปให้กับเครื่องรับประเภท Notebook หรือ Wireless Adepter จะได้ความเร็วและความแรงของสัญญาณเป็นอย่างไร?

คำตอบ

บทความนี้เป็นบทความที่ทำขึ้นเพื่อใช้สำหรับวิจัย และ วิเคราะ ความสามารถของอุปกรณ์ว่าสามารถใช้งานเครือข่ายไร้สายที่ได้ระยะทางเท่าใดที่ดีที่สุด เท่านั้น เพราะปัจจัยการใช้งานให้ได้ตามความต้องการขึ้นอยู่หลายสิ่งเช่น สภาพแวดล้อม ความถี่ที่รบกวน ประสิทธิภาพของตัวนรับสัญญาณ ความสูง ระยะทาง ฯลฯ
ในบทความนี้ได้นำอุปกรณ์ EnGenius EOC-2610 + LowLoss 1M + Tactio GP15L มาต่อใช้งานร่วมกันเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการใช้งานทั้ง INT , EXT ที่อยู่บน EOC-2610


ทดสอบครั้งที่ 1 ดังต่อไปนี้

  1. ต่อ EnGenius EOC-2610 ใช้เสาภายในโดยสวิตท์ที่อุปกรณ์เลือกมาใช้เสาภายใน INT ดังรูป

    รูปภาพ

  2. ปรับค่าบนอุปกรณ์ ดังนี้ ใช้กำลังส่ง อยู่ที่ 23 dBm

    รูปภาพ

  3. ทดสอบ ping ไปที่ gateway , DNS ในขณะที่ทำการรับข้อมูลอยู่

    รูปภาพ


ทดสอบครั้งที่ 2 ดังต่อไปนี้

  1. ต่อ EnGenius EOC-2610 กับเสา Tactio GP15L โดยสวิตท์ที่อุปกรณ์เลือกมาใช้เสาภายใน EXT ดังรูป

    รูปภาพ

  2. ปรับค่าบนอุปกรณ์ ดังนี้ ใช้กำลังส่ง อยู่ที่ 23 dBm

    รูปภาพ

  3. ทดสอบ ping ไปที่ gateway , DNS ในขณะที่ทำการรับข้อมูลอยู่

    รูปภาพ



สรุปการทดสอบสัญญาณ ทั้ง 2 ครั้งมีดังนี้

  1. ครั้งที่ 1 ได้ความแรง และการ ส่งข้อมุลที่ น่าพอใจกว่าเพราะว่าเสาบน EOC-2610 เป็น Panel 2ต้นฝังภายในที่เน้นทิศทาง มีอัตราขยาย 10 dbi ทำให้ความเร็วในการส่ง-รับ ข้อมูลมีความเสถียรมากกว่าครั้งที่ 2
  2. ครั้งที่ 2 ได้ความแรงน้อยกว่าครั้งที่ 1 เมื่อต่อกับเสา GP15L แต่ก็ยังสามารถเชื่อมต่อได้ในระยะเดียวกับครั้งที 1 เพียงแต่ เกิดค่า Time Out ขึ้นบ้างแต่ถือว่ายอมรับได้
  3. ข้อดีของครั้งที่ 1 เหมาะสำหรับกระจายแบบเน้นทิศทางที่มีผู้ใช้งานอยู่ระนาบเดียวกับที่ต้องการจะยิงไป สามารถรองรับการเชื่อมต่อที่เป็นเครื่องรับธรรมดาได้เป็นอย่างดี
  4. ข้อดีของครั้งที่ 2 สามารถคลอบคลุมพื้นที่เป็นรัศมีวงกลมรอบทิศทางเสา ซึ่งครั้งที่ 1 ไม่สามารถทำได้เลย

รูปภาพสถานที่ทดสอบ

ภาพทดสอบภายในรถยนต์ ซึ่งปิดกระจกหมด

รูปภาพ


ภาพการประกอบชุดการเชื่อมต่อครั้งที่ 2

รูปภาพ


ภาพการทดลองที่ถ่ายอยู่นอกรถ

รูปภาพ



จบบทความ

รายละเอียดการให้บริการจากทีมงาน SYS2U.COM Xpert Zone
SYS2U.COM 24-Hour Online IT Store
ซิสทูยู เฟสบุ๊ค - http://www.facebook.com/SYS2UOnline
ภาพประจำตัวสมาชิก
vit_et07
 
โพสต์: 1025
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 01 ต.ค. 2008 10:30 am

ย้อนกลับไปยัง วิธีการติดตั้งและปรับแต่งอุปกรณ์ EnGenius

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน